ระบบบริการวิชาการ
รายละเอียดโครงการ
1. ชื่อโครงการ โครงการอบรมภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
2. ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ
     2.1 ประเภทโครงการ
      โครงการทั่วไป
      โครงการพิเศษตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
     

2.2 ลักษณะโครงการ
    โครงการใหม่
    โครงการต่อเนื่อง ปีที่

3. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ / ภารกิจของหน่วยงาน
  ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพให้การบริการวิชาการและวิชาชีพ
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  4.1 ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ 
       หน่วยงาน :
4.2 หน่วยงานร่วม ภายใน ภายนอก

 เทศบาลตำบลปากแพรกอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

5. หลักการและเหตุผล
 

การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และวัฒนธรรมของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนทำให้ประเทศนี้มีบทบาทต่อภูมิภาคต่างๆทั่วโลก รวมถึงประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย นอกจากนี้ภาษาจีนก็เป็นภาษาที่มีความสำคัญในการติดต่อสื่อสารของคนทั่วโลก ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้จัดให้ภาษาจีนกลางเป็นหนึ่งในห้าภาษาหลักที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารขององค์การสหประชาชาติด้วย ความสำคัญของภาษาจีนกลางในเวทีโลกนี้เองที่ส่งผลให้ภาษาจีนกลางเป็นภาษาต่างประเทศในอันดับต้นๆ ที่ได้รับความสนใจจากผู้เรียนภาษาในหลายประเทศทั่วโลก

การศึกษาภาษาจีนในประเทศไทยได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญคือภาษาจีนกลางได้เข้ามามีบทบาทต่อตลาดแรงงานของไทยในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อทำธุรกิจค้าขาย  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หรือการร่วมลงทุนกับนักธุรกิจชาวจีนทั้งจากแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งมีอัตราส่วนการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาจีนกลางเพิ่มมากจังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีการเข้ามาลงทุนของบริษัทจีนหลายแห่ง บริษัทเหล่านี้ต่างต้องการผู้มีความรู้ความสามารถในภาษาจีนกลาง ทำให้คนในชุมชนที่มีความสามารถในภาษาจีนมีโอกาสในการประกอบอาชีพ นอกจากนี้จังหวัดกาญจนบุรียังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีคุณค่าและสวยงาม นักท่องเที่ยวชาวจีนได้เข้ามาท่องเที่ยวจำนวนมากอย่างไม่ขาดสาย ทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น อาชีพมัคคุเทศก์ ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านขายของฝากของที่ระลึก ฯลฯ ต่างมีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี  เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีนโยบายในการพัฒนา ส่งเสริม และยกระดับการเรียนรู้ภาษาจีนให้กับนักศึกษา บุคลากร รวมถึงบุคคลทั่วไป ทั้งนี้สาขาวิชาภาษาจีนได้เล่งเห็นความสำคัญของภาษาจีนสำหรับบุคลากรทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเขตชุมชนตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นแหล่งธุรกิจและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเพื่อจะได้เรียนรู้ภาษาและศิลปวัฒนธรรมจีน มีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาจีนเพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน และเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพในปัจจุบันและอนาคต

6. วัตถุประสงค์
 

6.1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้ารับอบรมมีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาจีนเบื้องต้นในการสื่อสาร และใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพได้

6.2          เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมจีนมากขึ้น

6.3           เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรของสาขาวิชาภาษาจีนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

7. พื้นที่ / ชุมชนเป้าหมาย
 

เทศบาลตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

8. กลุ่มโครงการบริการวิชาการ
  กลุ่ม 4 กลุ่มโครงารบริการวิชาการอื่นๆ (ตามความเชียวชาญ ของคณะ ศูนย์ สำนัก)
9. ชุมชนเป้าหมายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
- กลุ่มผู้ประกอบการ/บุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการ คน
- กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา/องค์กรปกครองท้องถิ่น คน
- กลุ่มอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ คน
- กลุ่มชุมชนในพื้นที่ คน
- อื่นๆ (ระบุ) บุคคลที่สนใจ 50 คน


ภายใมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่เกินร้อยละ 20)

- นักศึกษา คน
- อาจารย์ คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เชิงปริมาณ / เชิงคุณภาพ
 

13.1 ผลผลิต

ผู้เข้ารับการอบรมจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ในภาษาและศิลปวัฒนธรรมจีนเพิ่มมากขึ้น

13.2 ผลลัพธ์

ผู้เข้ารับการอบรมจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ในภาษาและศิลปวัฒนธรรมจีน และสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้

13.3 ผลกระทบ

ผู้เข้ารับการอบรมจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สามารถใช้ภาษาจีนในการสื่อสารได้

11. วิธีดำเนินการ
 

11.1 สถานที่ดำเนินการ

เทศบาลตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

 

11.2 แผนการดำเนิน

ขั้นตอนดำเนินการ
พ.ศ.2560
พ.ศ.2561
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
1. ประชุมจำทำแผนโครงการและนำเสนอขออนุมัติโครงการ 
/
/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. ประชุมจัดทำแผนกิจกรรม กำหนดผู้รับผิดชอบกิจกรรม ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ
 
/
/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครผู้ประสงค์จะเข้ารับการอบรม
 
 
 
/
/
 
 
 
 
 
 
 
4. ดำเนินโครงการ
 
 
 
/
/
/
 
 
 
 
 
 
5. สรุปและประเมินผลโครงการ
 
 
 
 
 
/
 
 
 
 
 
 
6. ติดตามผลการดำเนินงาน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
7.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
8.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
9.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
10.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
12.                        
13.                        
14.                        
15.                        

12. งบประมาณ
 
รายการ
จำนวนเงิน
1. ค่าตอบแทน  ค่าตอบแทนวิทยากรภายใน จำนวน 2 คนๆ ละ 10 วัน ๆ ละ3ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท
18,000
2. ค่าใช้สอย  ค่าอาหารเย็นจำนวน 50 ท่าน มื้อละ 50 บาท จำนวน 10 มื้อ 
25,000
3. ค่าวัสดุ  ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน50 ชุด ๆละ 40 บาท
2,000
รวมงบประมาณ
45,000

13. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
 

มิติที่ 1ความรู้ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

          ผู้เข้ารับการอบรมจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ในภาษาและศิลปวัฒนธรรมจีนเพิ่มมากขึ้น       

มิติที่ 2ด้านความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย  4 ประเด็น

          1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ

          ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการไม่น้อยกว่า 3.51       

          2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

          ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการไม่น้อยกว่า 3.51                        

          3. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก

          ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวกไม่น้อยกว่า 3.51                      

          4. ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ

          ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการไม่น้อยกว่า 3.51    

 มิติที่ 3การนำความรู้ไปใช้ของกลุ่มเป้าหมาย

3.1 ผู้รับบริการมีการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ผู้เข้ารับการอบรมจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 มีความรู้ในภาษาและศิลปวัฒนธรรมจีน และสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้

3.2 ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อประโยชน์จากการบริการวิชาการ

          ผู้รับบริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 มีความพึงพอใจต่อประโยชน์จากการบริการวิชาการอยู่ในระดับดี        

14. การรายงานผลโดยโครงการ/กิจกรรมโดยภาพรวม
 
  สถานะ การอนุมัติ วันที่ อนุมัติ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  สถานะ การดำเนินการ วันที่ดำเนินโครงการ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  แหล่งงบประมาณ กรณี อื่นๆ ระบุแหล่งเงิน
 
จำนวนเงินที่ขออนุมัติ บาท
ค่าใช้จ่าย 45,000 บาท
คงเหลือ บาท
คืนมหาวิทยาลัย บาท
สาเหตุที่คืน