ระบบบริการวิชาการ
รายละเอียดโครงการ
1. ชื่อโครงการ การเสริมสร้างความเข้มแข็งและการส่งเสริมอาชีพแบบบูรณาการตามความต้องการท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
2. ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ
     2.1 ประเภทโครงการ
      โครงการทั่วไป
      โครงการพิเศษตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
     

2.2 ลักษณะโครงการ
    โครงการใหม่
    โครงการต่อเนื่อง ปีที่

3. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ / ภารกิจของหน่วยงาน
  ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพให้การบริการวิชาการและวิชาชีพ
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  4.1 ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ 
       หน่วยงาน :
4.2 หน่วยงานร่วม ภายใน ภายนอก

ภายใน 1) คณะวิทยาการจัดการ

                   2) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

                   3) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

                   4) คณะครุศาสตร์

                   5) สถาบันวิจัยและพัฒนา

ภายนอก องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

5. หลักการและเหตุผล
 

จากการที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีมีความประสงค์ให้มหาวิทยาลัยร่วมพัฒนาเชิงพื้นที่ของชุมชนท่าเสาในรูปแบบการบริการวิชาการ  ซึ่งตรงกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีที่เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในด้านการบริการวิชาการร่วมกัน กับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างปี พ.ศ. 2560-63 นั้น ทางคณะทำงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย จึงได้มีมติให้เกิดการทำงานเชิงบูรณาการในการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม จึงได้มีการลงพื้นที่เพื่อจัดทำสำรวจความต้องการของชุมชนท่าเสา ซึ่งผลการวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนท่าเสาและจากการประชุมปรึกษาหารือกับคณะทำงานของอบต.ท่าเสา พบว่าชุมชนมีอาชีพหลักคือทำการเกษตร พื้นที่มีแหล่ง/ทรัพยากรหลากหลายทั้งการเกษตร การท่องเที่ยว มีกลุ่มแปรรูปผลิตผลจากการเกษตร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบที่เป็นสินค้าที่ขายให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในพื้นที่ ชุมชนจึงมีความต้องการให้มีการพัฒนาในด้านอาชีพ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดรายได้จากภาคเกษตรกรรม หรือเพื่อการลดต้นทุนในการผลิตต่างๆ อาทิ การส่งเสริมอาชีพการเกษตรแบบปลอดภัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับส่งออก หรือพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับการขายให้กับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ชุมชนท่าเสาเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงมีกลุ่มคนวัยนี้อยู่ในชุมชนในจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ มีประชากรในชุมชนเพิ่มสูงขึ้นทั้งประชากรที่อยู่อาศัย และประชากรแฝงที่มาในรูปนักท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และประชากรจากกลุ่มต่างด้าวที่เข้ามาอาศัยและทำงานรับจ้างในพื้นที่ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาขยะที่ตกค้างและมีปริมาณเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้ยังเป็นปัญหาของพื้นที่ที่ต้องการให้มีการแก้ไข/พัฒนาเพิ่มเติม คณะทำงานบริการวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมหาวิทยาลัยจึงได้ร่วมกันพัฒนา/ประเด็นในการบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ 2562 เพื่อพัฒนาเป็นชุดโครงการบริการวิชาการ เรื่อง "การเพื่อพัฒนาการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการส่งเสริมอาชีพแบบบูรณาการตามความต้องการท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการที่มองใน 3 มิติ คือ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม ตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยประกอบด้วยโครงการย่อยดังต่อไปนี้

                                                       

          1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักเกณฑ์และวิธีที่ดีในการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม การจำหน่าย แนวทางการส่งออกและกระบวนการขั้นตอนทางกฎหมายในการขอจดทะเบียน อย.ผลิตภัณฑ์จากกล้วยเพื่อการจำหน่าย การเพิ่มมูลค่าและการส่งออกของชุมชนท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

                   หัวหน้าโครงการ ผศ.ขวัญนรี กล้าปราบโจร คณะวิทยาการจัดการ ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

          2) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการลดใช้สารเคมีทางการเกษตร และการดูแลเครื่องมือทางการเกษตรอย่างง่าย

                   หัวหน้าโครงการ นางสาวรัตนาภรณ์ เกิดเจริญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับคณะเทคโนโลยีอุตสากรรม

                3) โครงการอบรมพัฒนาสมรรถนะด้านการประยุกต์ใช้แหล่งท่องเที่ยวเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของครูผู้สอน      

                   หัวหน้าโครงการ ดร.บรรจบพร อินดี คณะวิทยาการจัดการ ร่วมกับ คณะครุศาสตร์

          4) โครงการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุด้วยโภชนาการ การออกกำลังกาย สมาธิปฏิบัติ และเทคโนโลยีสารสนเทศในพื้นที่ชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

                   หัวหน้าโครงการ อ.มนสินี ดาบเงิน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะครุศาสตร์

          5)โครงการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการลด การคัดแยกขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายจากแหล่งกำเนิดชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

                   หัวหน้าโครงการ ดร.ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

 

          ผลจากการดำเนินงานนอกจากจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตในมิติเศรษฐกิจ (การประกอบอาชีพ) มิติสังคม (การพัฒนาสังคมในด้านผู้สูงอายุ) มิติสิ่งแวดล้อม (การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)นอกจากนั้นยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาเผยแพร่ ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน และสามารถบูรณาการกับการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาในรายวิชาของสาขาเทคโนโลยีการอาหาร อาทิ รายวิชา การแปรรูปอาหาร (Food processing) รายวิชาการควบคุมและประกันคุณภาพอาหาร สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป รายวิชา การจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาการบัญชี ในรายวิชา และอื่นๆ นอกจากนี้ยังนำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีอย่างยั่งยืนต่อไป

6. วัตถุประสงค์
 

6.1 เพื่อให้กลุ่มแปรรูปกล้วย ได้มีแนวทางการปฏิบัติการหลักเกณฑ์และวิธีที่ดีในการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม การจำหน่าย แนวทางการส่งออกและกระบวนการขั้นตอนทางกฎหมายในการขอจดทะเบียน อย.ผลิตภัณฑ์จากกล้วยเพื่อการจำหน่าย การเพิ่มมูลค่าและการส่งออกของผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

          6.2 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรการลดใช้สารเคมีทางการเกษตร และสามารถดูแลเครื่องมือทางการเกษตรอย่างง่ายได้

            6.3 เพื่อให้ครูผู้สอนในสถานศึกษาในพื้นที่ตำบลท่าเสา สามารถพัฒนาสมรรถนะด้านการประยุกต์ใช้แหล่งท่องเที่ยวเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ได้

          6.4 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีสุขภาพทางกาย และจิตที่ดีในการดำรงชีพในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน ในพื้นที่ชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

          6.5 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ การมีส่วนร่วม และสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ในแนวทางการลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะ และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายจากชุมชน ในพื้นที่ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

7. พื้นที่ / ชุมชนเป้าหมาย
 

ชุมชนท่าเสา องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา เทศบาลตำบลน้ำตก อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

8. กลุ่มโครงการบริการวิชาการ
  กลุ่ม 3 กลุ่มโครงการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งและการส่งเสริมอาชีพ
9. ชุมชนเป้าหมายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
- กลุ่มผู้ประกอบการ/บุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการ คน
- กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา/องค์กรปกครองท้องถิ่น 20 คน
- กลุ่มอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ คน
- กลุ่มชุมชนในพื้นที่ 120 คน
- อื่นๆ (ระบุ) ผู้สูงอายุ 40 คน


ภายใมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่เกินร้อยละ 20)

- นักศึกษา 10 คน
- อาจารย์ 32 คน
- อื่นๆ (ระบุ) บุคลากร 1 คน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เชิงปริมาณ / เชิงคุณภาพ
 

13.1 ผลผลิต:ผู้เข้าร่วมอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 

13.2 ผลลัพธ์:1) ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้

2) ชุมชนได้แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

13.3 ผลกระทบ:1) พัฒนาคุณภาพชีวิตและนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง

          2) สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และ อบต.ท่าเสา

11. วิธีดำเนินการ
 

11.1 สถานที่ดำเนินการ

1  สถานที่ดำเนินโครงการ ต.ท่าเสา อ. ไทรโยค และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี

2  วัน/เดือน/ปี ที่จัดกิจกรรมโครงการตุลาคม 2561 – กันยายน 2562

      

11.2 แผนการดำเนิน

ขั้นตอน / กิจกรรม

พ.ศ.2561

พ.ศ.2562

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ธันวาคม

มกราคม

กุมภาพันธ์

มีนาคม

เมษายน

พฤษภาคม

มิถุนายน

กรกฎาคม

สิงหาคม

กันยายน

1. ขออนุมัติโครงการ              

/

/

/

/

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ดำเนินกิจกรรมโครงการ

 

 

 

 

/

/

/

/

/

/

/

 

3. ประเมินผลโครงการ

 

 

 

 

 

 

 

 

/

/

/

 

4. รายงานผลการดำเนินงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

/

12. งบประมาณ
 
รายการ
จำนวนเงิน
1. ค่าตอบแทน
48,600
2. ค่าใช้สอย
168,520
3. ค่าวัสดุ
77,200
รวมงบประมาณ
294,320
13. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
 

มิติที่ 1 ความรู้ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย :ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

มิติที่ 2 ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย :

1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ

              ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

             2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

              ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

             3. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก

              ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

             4. ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ

                             ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

มิติที่ 3 การนำความรู้ไปใช้ของกลุ่มเป้าหมาย :ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

14. การรายงานผลโดยโครงการ/กิจกรรมโดยภาพรวม
 
  สถานะ การอนุมัติ วันที่ อนุมัติ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  สถานะ การดำเนินการ วันที่ดำเนินโครงการ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  แหล่งงบประมาณ กรณี อื่นๆ ระบุแหล่งเงิน
 
จำนวนเงินที่ขออนุมัติ 294320 บาท
ค่าใช้จ่าย บาท
คงเหลือ บาท
คืนมหาวิทยาลัย บาท
สาเหตุที่คืน