ระบบบริการวิชาการ
รายละเอียดโครงการ
1. ชื่อโครงการ เสริมสร้างความรู้สู่สิ่งประดิษฐ์ด้านหุ่นยนต์ : Mobile Robotics Training
2. ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ
     2.1 ประเภทโครงการ
      โครงการทั่วไป
      โครงการพิเศษตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
     

2.2 ลักษณะโครงการ
    โครงการใหม่
    โครงการต่อเนื่อง ปีที่

3. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ / ภารกิจของหน่วยงาน
  ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพให้การบริการวิชาการและวิชาชีพ
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  4.1 ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ 
       หน่วยงาน :
4.2 หน่วยงานร่วม ภายใน ภายนอก

บุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี

5. หลักการและเหตุผล
 

        ทุกวันนี้ หุ่นยนต์ได้เข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการนำหุ่นยนต์มาใช้งานในหลายด้านด้วยกัน เช่น ในงานการผลิตแบบอุตสาหกรรม งานช่วยเหลือผู้ประสบภัย งานลาดตระเวนพื้นที่เสี่ยงภัย หรือแม้กระทั่งนำหุ่นยนต์มาใช้ในบ้านเพื่อให้ทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆ อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้หุ่นยนต์มีความสามารถหลากหลาย ราคาของตัวหุ่นยนต์เองก็ย่อมแพงขึ้นไปด้วย เพราะการประดิษฐ์หุ่นยนต์ประเภทนี้อาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ชนิดพิเศษ และเมื่อหุ่นยนต์เกิดความผิดพลาด งานที่เหลือที่กำลังดำเนินอยู่นั้นก็จะหยุดชะงักทันที  
  หุ่นยนต์เป็นการรวมความรู้ทางด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์เพื่อสร้างสรรค์หุ่นยนต์อันแสดงถึงภาพลักษณ์ของการใช้องค์ความรู้หุ่นยนต์จึงเสมือนตัวแทนของความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้งานความรู้ทั้ง 4 สาขาวิชาอย่างครบถ้วน จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่เราสามารถนำหุ่นยนต์มาช่วยในการเรียนการสอนที่เรียกว่า กระบวนการเรียนรู้แบบ STEM Education แม้ว่ากระบวนการดังกล่าวจะสามารถเชื่อมโยงในหมวดวิชาอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย แต่สิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมของการเรียนหุ่นยนต์ คือ ความกระตือรือร้นของการอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน วิธีการสอนหรือนำกิจกรรมโดยหุ่นยนต์มาใช้เป็นสื่อที่สามารถอธิบายรูปแบบ ลักษณะและการใช้งานที่จะประกอบเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า หุ่นยนต์ได้นั้นพื้นฐานความเข้าใจเรื่องระบบไฟฟ้า พลังงานและการเคลื่อนที่ โครงสร้างและการทำงานของชิ้นส่วนต่างๆ ที่มีรูปแบบในเชิงคณิตศาสตร์ สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม มุมป้าน มุมแหลม การเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆ ที่ง่ายในการประกอบข้อต่อ
         การจัดการเรียนการสอนที่นำเอาสื่อหุ่นยนต์มาเป็นฐานของกิจกรรมที่เรียกว่า กิจกรรมการสอนแบบแก้ปัญหา (Scientific Problem-based Activities) ผ่านกระบวนการสืบเสาะ ค้นหาทดลอง แก้ไขและลองผิดลองถูกบนพื้นฐานความรู้ที่มี ไม่ท้อแท้ ไม่ยอมแพ้ จนกว่าจะได้แก้ไขปัญหานั้นๆ หรือรวมทั้ง Project-based Learning, Problem-based Learning และ Design-based Learning อันเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นี้ ที่มีความสนุกสนาน ตื่นเต้นและอยากเรียนซ้ำแล้วซ้ำอีก
         ด้วยเหตุผลดังกล่าว หุ่นยนต์จึงเป็นความสนใจอย่างยิ่งต่อผู้ที่ต้องการพัฒนาการเรียนการสอนโดยเฉพาะครูผู้สอนที่ต้องการเห็นนักเรียน นักศึกษา สามารถสร้างสรรค์หรือประดิษฐ์หุ่นยนต์ให้มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ประกอบกับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา และระดับประถมศึกษา ยังขาดบุคลากรในการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการประดิษฐ์หุ่นยนต์และความรู้ในศาสตร์หุ่นยนต์  
      จากการออกบริการวิชาการของวิชาเอกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เกี่ยวกับเรื่องหุ่นยนต์ขนาดเล็ก ทำให้บุคลากรทางการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี มีความสนใจและเกิดแรงบันดาลใจที่จะศึกษาและทำความเข้าใจเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เพื่อถ่ายทอดสู่นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาของตน จึงเป็นเหตุผลให้ทางวิชาเอกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษา และเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เพื่อสามารถแข่งขันกับนานาประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป

6. วัตถุประสงค์
 

1.  เพื่อให้ผู้รับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ด้านหุ่นยนต์ 
2.  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมประดิษฐ์หุ่นยนต์ได้
3.  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

7. พื้นที่ / ชุมชนเป้าหมาย
 

สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี

8. กลุ่มโครงการบริการวิชาการ
  กลุ่ม 2 กลุ่มโครงการพัฒนาครู
9. ชุมชนเป้าหมายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
- กลุ่มผู้ประกอบการ/บุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการ คน
- กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา/องค์กรปกครองท้องถิ่น 30 คน
- กลุ่มอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ คน
- กลุ่มชุมชนในพื้นที่ คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน


ภายใมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่เกินร้อยละ 20)

- นักศึกษา คน
- อาจารย์ คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เชิงปริมาณ / เชิงคุณภาพ
 

10.1 ผลผลิต
         ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์

10.2 ผลลัพธ์
         ครูและบุคลากรทางการศึกษา ประดิษฐ์หุ่นยนต์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาได้/ขอตำแหน่งวิทยฐานะได้/จัดนิทรรศการด้านการศึกษา

10.3 ผลกระทบ

10.3.1 เกิดความร่วมมือในการพัฒนาทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีกับสถานศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรีมากขึ้น
10.3.2 บุคลากรทางการศึกษามีสื่อการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายและทันสมัย ทำให้ผู้เรียนเกิดความน่าสนใจมากขึ้น

11. วิธีดำเนินการ
 

11.1 สถานที่ดำเนินการ

     ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี          

11.2 แผนการดำเนิน

ขั้นตอนดำเนินการ
พ.ศ.2561
พ.ศ.2562
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
1. ขออนุมัติโครงการ
--->
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. วางแผนและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
 
--->
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. ประชาสัมพันธ์โครงการ
----
--->
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4. ดำเนินการจัดโครงการ
 
--->
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. ติดตามและประเมินผล
 
 
--->
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6. สรุปและวิเคราะห์ผล
 
 
----
--->
 
 
 
 
 
 
 
 
12. งบประมาณ
 

รายการ
จำนวนเงิน

1. ค่าตอบแทน
    1.1  ค่าตอบแทนวิทยากร
           - ค่าตอบแทนวิทยากรภายใน จำนวน 2 คน คนละ 12 ชั่วโมง ชั่วงโมงละ 300 บาท เป็นเงิน                  7,200 บาท

7,200

2. ค่าใช้สอย
    2.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 
          - จำนวน 4 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
     2.2 ค่าอาหารกลางวัน
          - จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 60 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 3,600 บาท

   

6,600

3,000

3,600

 
3. ค่าวัสดุ
    3.1 ค่าวัสดุสำนักงาน
          -  ค่าเอกสารพร้อมเข้าเล่มประกอบการอบรม จำนวน 30 ชุด ชุดละ 70 บาท
             เป็นเงิน 2,100 บาท
          -  ค่าวัสดุสำนักงานสำหรับการออกแบบหุ่นยนต์ เช่น การะดาษร่างแบบ กระดาษสติ๊กเกอร์ ฟิวเจอร์บอร์ด คัตเตอร์ กรรไกร กาว ปืนยิงกาว เทปใส สี ถ่านอัลคาไลน์
    3.2  ค่าวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
            อุปกรณ์สำหรับการประดิษฐ์หุ่นยนต์ เช่น แผงวงจรควบคุมหุ่นยนต์ มอเตอร์ เซอร์โซมอเตอร์ ชุดเฟืองขับมอเตอร์ สายต่อมอเตอร์ ล้อ สายดาวน์โหลด ชุดแขนกล สเต็ปเปอร์มอเตอร์ โครงหุ่นยนต์ บลูทูธ ชุดสกรูและนอต แผ่นฐาน ฉากสแตนเลส กะบะถ่าน ชุดแขนกล 
31,200

2,100

2,400

26,700


 
รวมงบประมาณ
45,000

13. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
 

มิติที่ 1 ความรู้ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย
        ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

มิติที่ 2 ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย
       1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ
           -ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจด้านการอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
       2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
        -  ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในการจัดอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
      3. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
        -  ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
      4. ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ
       -  ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจด้านคุณภาพการให้บริการในการจัดอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 

มิติที่ 3 การนำความรู้ไปใช้ของกลุ่มเป้าหมาย
         เชิงปริมาณ : ผู้เข้ารับการอบรมสร้างสิ่งประดิษฐ์ด้านหุ่นยนต์ อย่างน้อย 1 ผลงาน และนำสื่อที่สร้างขึ้นนำไปบูรณาการจัดการเรียนสอนให้กับผู้เรียน/การทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ/จัดนิทรรศการด้านการศึกษา
        เชิงคุณภาพ : ระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมต่อการเข้ารับการอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90


14. การรายงานผลโดยโครงการ/กิจกรรมโดยภาพรวม
 
  สถานะ การอนุมัติ วันที่ อนุมัติ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  สถานะ การดำเนินการ วันที่ดำเนินโครงการ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  แหล่งงบประมาณ กรณี อื่นๆ ระบุแหล่งเงิน
 
จำนวนเงินที่ขออนุมัติ 45000 บาท
ค่าใช้จ่าย บาท
คงเหลือ บาท
คืนมหาวิทยาลัย บาท
สาเหตุที่คืน