ระบบบริการวิชาการ
รายละเอียดโครงการ
1. ชื่อโครงการ อบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานด้านโลจิสติกส์ สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้า ขนาดไม่เกิน 10 ตัน
2. ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ
     2.1 ประเภทโครงการ
      โครงการทั่วไป
      โครงการพิเศษตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
     

2.2 ลักษณะโครงการ
    โครงการใหม่
    โครงการต่อเนื่อง ปีที่

3. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ / ภารกิจของหน่วยงาน
  ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพให้การบริการวิชาการและวิชาชีพ
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  4.1 ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ 
       หน่วยงาน :
4.2 หน่วยงานร่วม ภายใน ภายนอก

สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานกาญจนบุรี

5. หลักการและเหตุผล
 

จังหวัดกาญจนบุรี มีบทบาทสำคัญต่อระบบโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากมีช่องทางติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งมีด่านถาวรบ้านพุน้ำร้อนที่เป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญของระบบโลจิสติกส์ในด้านการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ อีกทั้งยังมีพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษด่านถาวรบ้านพุน้ำร้อนซึ่งส่งผลให้มีการลงทุนด้านระบบโลจิสติกส์จากภาคเอกชนมากขึ้น

ในจังหวัดกาญจนบุรี มีผู้ประกอบการ/บุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการเป็นจำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบโลจิสติกส์กับผู้ประกอบการหรือบุคลากรด้านอุตสาหกรรมคือ ผู้ควบคุมรถยกสินค้า ขนาดไม่เกิน 10 ตัน หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและควบคุมการขับเคลื่อนรถยกสินค้า ขนาดไม่เกิน 10 ตัน ในพื้นที่คลังสินค้า ปฏิบัติงานยกสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์พิเศษ ตลอดจนวางแผน บริหารจัดการรถยกสินค้าให้เพียงพอต่อการใช้งาน วางแผนในการซ่อม แจ้งซ่อมรถยกสินค้า เพื่อให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานตลอดเวลา ตรวจสอบระบบการทำงานหรือควบคุมระบบการทำงานต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัยตามที่กำหนดในคู่มือมาตรฐานการทำงาน

จากประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
ทางสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์จึงเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพด้านโลจิสติกส์ โดยการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ใน 4 สาขาวิชา ได้แก่
ผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า นักบริหารการขนส่งสินค้าทางถนน ผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง และผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน ทั้งนี้ ทางสาขาวิชา ฯ จึงมีแนวคิดในการให้ความรู้แก่ผู้ที่มีอาชีพด้านผู้ควบคุมรถยกสินค้า ขนาดไม่เกิน 10 ตัน โดยการจัดโครงการบริการวิชาการ ในการให้ความรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพด้านโลจิสติกส์ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการมีความรู้ความสามารถและมีความพร้อมในการเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมีบุคลากรด้านโลจิสติกส์ที่มีมาตรฐาน และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ

6. วัตถุประสงค์
 

6.1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและมีความพร้อมในการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้า ขนาดไม่เกิน 10 ตัน

6.2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ  สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้า ขนาดไม่เกิน 10 ตัน

6.3 เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของประเทศ ให้มีมาตรฐานและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ

7. พื้นที่ / ชุมชนเป้าหมาย
 

ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน กลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อาคารเรียนรวมและอเนปกระสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

8. กลุ่มโครงการบริการวิชาการ
  กลุ่ม 4 กลุ่มโครงารบริการวิชาการอื่นๆ (ตามความเชียวชาญ ของคณะ ศูนย์ สำนัก)
9. ชุมชนเป้าหมายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
- กลุ่มผู้ประกอบการ/บุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการ 30 คน
- กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา/องค์กรปกครองท้องถิ่น คน
- กลุ่มอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ คน
- กลุ่มชุมชนในพื้นที่ คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน


ภายใมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่เกินร้อยละ 20)

- นักศึกษา คน
- อาจารย์ คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เชิงปริมาณ / เชิงคุณภาพ
 

13.1 ผลผลิต

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และความสามารถตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้า ขนาดไม่เกิน 10 ตัน

13.2 ผลลัพธ์

ผู้เข้าร่วมโครงการผ่านการทดสอบตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้า ขนาดไม่เกิน 10 ตันและมีรายได้เพิ่มขึ้น

13.3 ผลกระทบ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพของระบบโลจิสติกส์ให้มีมาตรฐาน

11. วิธีดำเนินการ
 

11.1 สถานที่ดำเนินการ

ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน กลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อาคารเรียนรวมและอเนปกระสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

11.2 แผนการดำเนิน

ขั้นตอนดำเนินการ
พ.ศ.2561
พ.ศ.2562
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
1. วางแผนการดำเนินโครงการ
/
/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
 
/
/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. ดำเนินโครงการ
 
/
/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4. ติดตามและประเมินผล
 
 
 
/
 
 
 
 
 
 
 
 
5. สรุปผลการดำเนินโครงการ
 
 
 
 
/
 
 
 
 
 
 
 
                         
12. งบประมาณ
 

รายการ

จำนวนเงิน

1. ค่าตอบแทน

     1.1 ค่าตอบแทนวิทยากรภายใน (300 บาท * 36 ชั่วโมง * 3 คน)

     1.2 ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก (600 บาท * 6 ชั่วโมง * 1 คน)

36,000

32,400

3,600

2. ค่าวัสดุ

    2.1 วัสดุสำนักงาน

     วัสดุในการดำเนินโครงการอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน

ด้านโลจิสติกส์ สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า เช่น

- ค่าเอกสาร จำนวน 30 ชุด

- กระดาษ ขนาด A4

- เทป PVC ตีเส้นพื้น

- กล่องกระดาษลูกฟูก 3 ชั้น คละขนาด

- พาเลทไม้

- พลาสติกแร็ป

- เทปโอพีพีใส 3 นิ้ว

- ถุงมือผ้า

- หน้ากากอนามัย

- เสื้อนิรภัยสะท้อนแสง

- หมวกนิรภัย

21,650

 

 

2,100

1,400

1,590

4,000

3,000

2,170

1,260

730

300

2,625

2,475

3. ค่าธรรมเนียมสถาบันการศึกษา (ร้อยละ 15)

     ค่าลงทะเบียน (9,000 บาท * ร้อยละ 15)

1,350

รวมงบประมาณ

59,000

13. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
 

มิติที่ 1 ความรู้ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย
ผู้เข้าร่วมโครงการผ่านการทดสอบภาคความรู้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90


มิติที่ 2 ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย

1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 

             2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80                 

3. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80               

4. ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80                  

มิติที่ 3 การนำความรู้ไปใช้ของกลุ่มเป้าหมาย

1. ผู้เข้าร่วมโครงผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้า ขนาดไม่เกิน 10 ตัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

2.    ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90

3.    ผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น


14. การรายงานผลโดยโครงการ/กิจกรรมโดยภาพรวม
 

เล่มสรุปโครงการอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้า ขนาดไม่เกิน 10 ตัน

  สถานะ การอนุมัติ วันที่ อนุมัติ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  สถานะ การดำเนินการ วันที่ดำเนินโครงการ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  แหล่งงบประมาณ กรณี อื่นๆ ระบุแหล่งเงิน
 
จำนวนเงินที่ขออนุมัติ 59000 บาท
ค่าใช้จ่าย บาท
คงเหลือ บาท
คืนมหาวิทยาลัย บาท
สาเหตุที่คืน