ระบบบริการวิชาการ
รายละเอียดโครงการ
1. ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้ประวัติศาสตร์นอกห้องเรียน (ประวัติศาสตร์สัญจร)
2. ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ
     2.1 ประเภทโครงการ
      โครงการทั่วไป
      โครงการพิเศษตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
     

2.2 ลักษณะโครงการ
    โครงการใหม่
    โครงการต่อเนื่อง ปีที่

3. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ / ภารกิจของหน่วยงาน
  ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพให้การบริการวิชาการและวิชาชีพ
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  4.1 ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ 
       หน่วยงาน :
4.2 หน่วยงานร่วม ภายใน ภายนอก
5. หลักการและเหตุผล
 

                 บริเวณพื้นที่อ่าวไทยเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การติดต่อกับอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยในอดีตจะใช้พื้นที่บริเวณอ่าวไทยเป็นสำคัญ ทำให้มีการตั้งเมืองท่าโบราณในบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยหลายแห่ง ตั้งแต่สมัยทวารวดี ได้แก่ เมืองโบราณพระรถ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เมืองโบราณศรีมโหสถ อ.โคกปีบ จ.ปราจีนบุรี เมืองโบราณดงละคร จ.นครนายก เมืองโบราณบ้านคูเมือง     จ.ฉะเชิงเทรา เป็นต้น ชุมชนเหล่านี้เป็นชุมชนการค้าสำคัญในสมัยทวารวดีพบหลักฐานการค้าขายกับอาณาจักรเปอร์เซียและอาณาจักรโรมัน จนมาถึงในสมัยอยุธยาพื้นที่อ่าวไทยยังคงเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญของอาณาจักรมาจนถึงปัจจุบัน ต่างกันเพียงลักษณะของเรือ สินค้าที่บรรทุก และท่าจอดเรือเท่านั้น โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๔ การค้าทางทะเลกับอาณาจักรอยุธยาและประเทศสยามเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก จากร่องรอยการพบแหล่งโบราณคดีใต้น้ำหรือแหล่งเรือจมที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๔ เช่น แหล่งโบราณคดีใต้น้ำเรือคราม แหล่งโบราณคดีใต้น้ำเรือประแสร์ แหล่งโบราณคดีใต้น้ำเรือรางเกวียน แหล่งโบราณคดีใต้น้ำเรือเสม็ดงาม เป็นต้น

                   ปัจจุบันกองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร ได้ทำการสำรวจและศึกษาแหล่งโบราณคดีใต้น้ำเหล่านี้และนำข้อมูลและโบราณวัตถุที่ได้มาเกบรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพานิชย์นาวี จังหวัดจันทบุรี และนอกจากนี้ในพื้นที่ของแหล่งโบราณคดีใต้น้ำเรือเสม็ดงาม ยังได้มีการสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอู่ต่อเรือพระเจ้าตากสินเนื่องจากประชาชนในพื้นที่ได้มีความเชื่อว่าเป็นพื้นที่ที่พระเจ้าตากสินได้มาต่อเรือก่อนที่จะไปขับไล่กองทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาได้จัดแสดงเกี่ยวกับการขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ำและลักษณะรูปทรงสันนิษฐานของเรือสำเภาในอดีต

                   ดังนั้นเพื่อให้เกิดการศึกษาที่ครอบคลุมในประเด็นด้านประวัติศาสตร์การพานิชย์นาวีของไทยและจึงต้องมีการศึกษายังสถานที่จริงเพื่อสร้างภาพขององค์ความรู้ได้ จังหวัดจันทบุรีจึงเป็นพื้นที่เป้าหมายในการให้บริการทางด้านความรู้ให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์

6. วัตถุประสงค์
 

6.1 เพื่อให้ครู อาจารย์และบุคคลากรทางการศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาและผู้สนใจทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เพิ่มเติมจากในตำราเรียน

6.2 เพื่อให้ครู อาจารย์และบุคคลากรทางการศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาและผู้สนใจทั่วไปได้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทและความสำคัญของจังหวัดจันทบุรีทางประวัติศาสตร์

6.3 เพื่อให้ครู อาจารย์และบุคคลากรทางการศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาและผู้สนใจทั่วไปได้เข้าใจในบริบทของความสัมพันธ์กับชาวต่างชาติผ่านประวัติศาสตร์การพานิชนาวีไทย

6.4 เพื่อให้ครู อาจารย์และบุคคลากรทางการศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาและผู้สนใจทั่วไปนำความรู้ที่ได้จากโครงการไปเพิ่มพูนความรู้ในการสอนในรายวิชาประวัติศาสตร์ต่อไป

7. พื้นที่ / ชุมชนเป้าหมาย
 

ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรีและใกล้เคียงและผู้สนใจทั่วไป จำนวน 30 คน

8. กลุ่มโครงการบริการวิชาการ
  กลุ่ม 4 กลุ่มโครงารบริการวิชาการอื่นๆ (ตามความเชียวชาญ ของคณะ ศูนย์ สำนัก)
9. ชุมชนเป้าหมายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
- กลุ่มผู้ประกอบการ/บุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการ คน
- กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา/องค์กรปกครองท้องถิ่น 30 คน
- กลุ่มอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ คน
- กลุ่มชุมชนในพื้นที่ คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน


ภายใมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่เกินร้อยละ 20)

- นักศึกษา 6 คน
- อาจารย์ 4 คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เชิงปริมาณ / เชิงคุณภาพ
 

13.1 ผลผลิต

1. ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ ๘๐ มีความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ของจังหวัดจันทบุรี

2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้จักแหล่งโบราณคดีและแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี

13.2 ผลลัพธ์

1. ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจในบริบทของความสัมพันธ์กับชาวต่างชาติผ่านประวัติศาสตร์การพานิชนาวีไทย

2. ผู้เข้าร่วมโครงการสร้างความตระหนักในความสำคัญของโบราณสถาน โบราณวัตถุ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในประเทศไทยให้กับนักเรียนในสถาบันการศึกษาได้

13.3 ผลกระทบ

1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้เรื่องประวัติศาสตร์การพานิชนาวีไทยจากการเข้าร่วมโครงการไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษาได้

2. ผู้จัดโครงการนำความรู้จากการให้บริการวิชาการมาบูรณาการในการพัฒนาการเรียนสอนในรายวิชาสังคมและวัฒนธรรม รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย และรายวิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว

11. วิธีดำเนินการ
 

11.1 สถานที่ดำเนินการ

- กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร จังหวัดจันทบุรี

- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพานิชนาวี  จังหวัดจันทบุรี

- ค่ายเนินวง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

- อู่ต่อเรือพระเจ้าตากสิน อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

- โบราณสถานเมืองเพนียด วัดทองทั่ว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

- อนุสรณ์เรือรบหลวงประแสร์ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

 

11.2 แผนการดำเนิน

ขั้นตอนดำเนินการ
พ.ศ.25
พ.ศ.25
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
1. เสนอโครงการ
/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2.จัดเตรียมข้อมูลและเนื้อหาสำหรับการบริการวิชาการ
/
/
/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3.ประชาสัมพันธ์โครงการ
/
/
/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4.ดำเนินงานโครงการ
 
 
/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.สรุปผลโครงการ
 
 
 
/
/
/
 
 
 
 
 
 
6.รายงานผลโครงการ
 
 
 
 
 
 
/
/
/
 
 
 
12. งบประมาณ
 

รายการ
จำนวนเงิน

1. ค่าตอบแทน

1.1  ค่าตอบแทนวิทยากร

            - ค่าตอบแทนวิทยากร 3 คน คนละ 6 ชั่วโมง/วัน ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 3 วัน

16,200

2. ค่าใช้สอย

2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง  ค่าเช่าที่พัก   

            - ค่าที่พักห้องละ 1,200 บาท จำนวน 20 ห้อง เป็นเวลา 2 คืน    เป็นเงิน 48,000 บาท

2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารว่าง 40 คน คนละ 6 มื้อ มื้อละ 25 บาท  เป็นเงิน 6,000 บาท

2.3 ค่าอาหาร/กลางวัน/เย็น

- อาหารจำนวน 40 คน คนละ 5 มื้อ มื้อละ 80 บาท (กลางวัน, เย็น)  เป็นเงิน 16,000 บาท

2.4 ค่าจ้างเหมาบริการ 

- ค่าเช่ารถยนต์โดยสาร 1 คัน คันละ 18,000 บาท เป็นเวลา 3 วัน  เป็นเงิน 54,000 บาท

2.5 ค่าห้องประชุม เป็นเงิน 4,000 บาท

 

3. ค่าวัสดุ  (ให้ระบุรายละเอียด)

3.1 ค่าวัสดุและเอกสารประกอบการสัมมนา / การติดตามประเมินผล    เป็นเงิน 4,000 บาท

3.2 ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ  เป็นเงิน  2,800 บาท 

3.3 หมวกและกระเป๋าใส่เอกสารสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ  เป็นเงิน  4,000 บาท

138,800
 
13. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
 

มิติที่ 1 ความรู้ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จันทบุรีเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

 

มิติที่ 2 ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย

ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในการจัดโครงการในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยรวม

 

มิติที่ 3 การนำความรู้ไปใช้ของกลุ่มเป้าหมาย

ผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการเรียนการสอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

14. การรายงานผลโดยโครงการ/กิจกรรมโดยภาพรวม
 
  สถานะ การอนุมัติ วันที่ อนุมัติ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  สถานะ การดำเนินการ วันที่ดำเนินโครงการ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  แหล่งงบประมาณ กรณี อื่นๆ ระบุแหล่งเงิน
 
จำนวนเงินที่ขออนุมัติ 155000 บาท
ค่าใช้จ่าย บาท
คงเหลือ บาท
คืนมหาวิทยาลัย บาท
สาเหตุที่คืน