ระบบบริการวิชาการ
รายละเอียดโครงการ
1. ชื่อโครงการ โครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งด้วยบัญชีครัวเรือนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
2. ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ
     2.1 ประเภทโครงการ
      โครงการทั่วไป
      โครงการพิเศษตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
     

2.2 ลักษณะโครงการ
    โครงการใหม่
    โครงการต่อเนื่อง ปีที่

3. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ / ภารกิจของหน่วยงาน
  ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพให้การบริการวิชาการและวิชาชีพ
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  4.1 ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ 
       หน่วยงาน :
4.2 หน่วยงานร่วม ภายใน ภายนอก

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

5. หลักการและเหตุผล
 

          หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ได้จัดทำโครงการบริการวิชาการให้ความรู้แก่ ชุมชนในพื้นที่ ตามภารกิจของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง โดยสร้างความตระหนักและความสำคัญของชุมชนในพื้นที่ โดยเริ่มตั้งแต่ในปี 2555หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งด้วยบัญชีครัวเรือนถวายพ่อหลวง”โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชนในพื้นที่ด้วยการเน้นถึงการทำบัญชีรับจ่ายในครัวเรือน อีกทั้งยังเป็นนโยบายของรัฐบาล ซึ่งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสมหามงคลสมัยที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 65 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2560 ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน คือ พสกนิกรของพระองค์ ทุกหมู่เหล่า ซึ่งได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติ ว่าหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง” มีคุณูปการต่อมวลมนุษยชาติ ในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยึดหลักยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึงพัฒนา และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมโดยมุ่งเน้นให้ชุมชนมีการออม มีการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย อย่างสม่ำเสมอ มีการวางแผนการใช้จ่ายและจัดสรรค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม การทำบัญชีครัวเรือนที่รัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำนั้นเพื่อต้องการให้ประชาชนบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวัน ประจำเดือนว่ามีรายรับจากแหล่งใดบ้าง มีรายจ่ายอะไรบ้าง เพื่อจะได้เห็นภาพรวมว่าตนเองและครอบครัว และสำรวจว่ารายการใดจำเป็นมาก เช่น ซื้อกับข้าว ซื้อยา ซื้อเสื้อผ้า ซ่อมแซมบ้าน การศึกษา เป็นต้น ส่วนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นให้ลด ละ เลิก เช่น ซื้อบุหรี่ ซื้อเหล้า เล่นการพนัน เป็นต้น จะทำให้เราคิดได้ว่าสิ่งไม่จำเป็นนั้นมีมากหรือน้อยสามารถลดได้หรือไม่ เลิกได้ไหม ถ้าไม่ลดไม่เลิกจะเกิดอะไร กับตัวเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ หากวางแผนการรับ-การจ่ายเงินของตนเองได้เท่ากับว่า รู้จักความเป็นคนได้พัฒนาตนเอง ให้เป็นคนมีเหตุมีผล เป็นคนรู้จักพอประมาณ เป็นคนรักตนเอง รักครอบครัว รักชุมชน และรักประเทศชาติมากขึ้นจึงเห็นได้ว่า การทำบัญชีครัวเรือน ในเรื่องรายรับรายจ่าย ก็คือวิถีแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง เพราะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสม พอดี สอดคล้องถูกต้องตามกฎธรรมชาติที่มีทั้งความเป็นเอกภาพและดุลยภาพอยู่เสมอ

     ทั้งนี้ในปีงบประมาณ2555 - 2561 ได้รับการจัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ หลักสูตรบัญชีบัณฑิตเล็งเห็นความสำคัญของโครงการดังกล่าว และจากกิจกรรมที่ผ่านมา ประชาชนได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก หลักสูตรบัญชีบัณฑิตจึงมีประสงค์จะดำเนินการจัดโครงการให้กับชุมชนในจังหวัด กาญจนบุรี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562เพิ่มได้แก่ เขตอำเภอเลาขวัญ และอำเภอทองผาภูมิ

          ดังนั้นเพื่อให้การจัดโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการจึงขอเสนอ โครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งด้วยบัญชีครัวเรือนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องจากปีก่อนเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ และเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างทั่วถึงต่อไป

6. วัตถุประสงค์
 

6.1   เพื่อให้ชุมชนรู้จักวางแผนในการใช้จ่ายและทำบัญชีครัวเรือนได้

6.2   เพื่อให้ชุมชนน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและน้อมนำแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง”มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม

7. พื้นที่ / ชุมชนเป้าหมาย
 

ครั้งที่ 1 เขตพื้นที่ในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน ไม่น้อยกว่า 50 คน

ครั้งที่ 2 เขตพื้นที่ในอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจน

8. กลุ่มโครงการบริการวิชาการ
  กลุ่ม 1 กลุ่มโครงการพระราชดำริ
9. ชุมชนเป้าหมายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
- กลุ่มผู้ประกอบการ/บุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการ คน
- กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา/องค์กรปกครองท้องถิ่น คน
- กลุ่มอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ คน
- กลุ่มชุมชนในพื้นที่ 100 คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน


ภายใมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่เกินร้อยละ 20)

- นักศึกษา 10 คน
- อาจารย์ 8 คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เชิงปริมาณ / เชิงคุณภาพ
 

10.1 ด้านผลผลิต (output)

     ชุมชน จำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ตามแนวแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

10.2 ด้านผลลัพธ์  (outcome)

     เชิงปริมาณ: ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อยร้อยละ 95 มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย โดยการบันทึกสมุดบัญชีครัวเรือน โดยมีการประเมินผลหลังจากวันที่จัดโครงการเสร็จสิ้น      เป็นเวลา 1 เดือน

     เชิงคุณภาพ :ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการบริการวิชาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

10.3 ด้านผลกระทบ (impact)

     -ไม่มี -

11. วิธีดำเนินการ
 

11.1 สถานที่ดำเนินการ

ครั้งที่ 1 เขตพื้นที่ในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน ไม่น้อยกว่า 50 คน

ครั้งที่ 2 เขตพื้นที่ในอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวนไม่น้อยกว่า 50 คน

11.2 แผนการดำเนิน

ขั้นตอนดำเนินการ
พ.ศ.25
พ.ศ.25
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ      
>>>
>>>
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. จัดประชุมคณะทำงาน
>>>
>>>
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. จัดทำหนังสือขอเชิญวิทยากร  ขอใช้สถานที่ ประชาสัมพันธ์โครงการ
>>>
>>>
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4. ดำเนินจัดโครงการ
>>>
>>>
>>>
>>>
>>>
>>>
>>>
>>>
 
 
 
 
5. รายงานผลโครงการ
 
 
 
 
 
 
 
 
>>>
>>>
 
 
6.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
7.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
8.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
9.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
10.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
12.                        
13.                        
14.                        
15.                        
12. งบประมาณ
 
รายการ
จำนวนเงิน
1. ค่าตอบแทน
28,800
2. ค่าใช้สอย
19,000
3. ค่าวัสดุ
27,000
รวมงบประมาณ
74,800
13. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
 

มิติที่ 1ความรู้ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

ชุมชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจสามารถทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม และสามารถทำสมุดบัญชีรายรับ-รายจ่าย หลังจากอบรมผ่านไป 1 เดือนได้อย่างถูกต้อง อย่างน้อยร้อยละ 95 

 

มิติที่ 2ด้านความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย  4 ประเด็น

1.  ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ

      ชุมชนในพื้นที่มีความพึงพอใจในการบวนการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการอย่างชัดเจนทั่วถึงและระยะเวลาที่ใช้จัดโครงการมีความเหมาะสมอย่างน้อยร้อยละ 90

2. ความพึงพอใจด้านวิทยากร

      ชุมชนในพื้นที่มีความพึงพอใจด้านวิทยากรโดยวิทยากรมีความรู้เรื่องที่บรรยาย ให้คำแนะนำและ          มีพฤติกรรมที่เหมาะสม อย่างน้อยร้อยละ 90

3. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก

      ชุมชนในพื้นที่มีความถึงพอใจด้านสถานที่จัดโครงการมีความพร้อมต่อการใช้งานและเอกสาร อาหารและเครื่องดื่มเพียงพอ อย่างน้อยร้อยละ 90 

4. ความพึงพอใจต่อคุณภาพในการจัดอบรม

      ชุมชนในพื้นที่มีความพึงพอใจต่อคุณภาพในการจัดอบรมโดยผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเรื่องที่อบรมชัดเจนและสามารถจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายได้ อย่างน้อยร้อยละ 90 

 

มิติที่ 3การนำความรู้ไปใช้ของกลุ่มเป้าหมาย

     ชุมชนในพื้นที่สามารถนำความรู้ไปใช้ โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนส่งเสริมด้านการออม มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย อย่างสม่ำเสมอ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวันได้ โดยติดตามผลการบันทึกบัญชีรายรับรายจ่าย หลังจากจัดโครงการไปแล้ว 1 เดือน ซึ่งผู้เข้าอบรมสามารถจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายได้และนำไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อยร้อยละ 95

14. การรายงานผลโดยโครงการ/กิจกรรมโดยภาพรวม
 

รายงานผลหลังจัดอบรมโครงการภายใน 1 เดือนถัดไป

  สถานะ การอนุมัติ วันที่ อนุมัติ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  สถานะ การดำเนินการ วันที่ดำเนินโครงการ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  แหล่งงบประมาณ กรณี อื่นๆ ระบุแหล่งเงิน
 
จำนวนเงินที่ขออนุมัติ 74800 บาท
ค่าใช้จ่าย บาท
คงเหลือ บาท
คืนมหาวิทยาลัย บาท
สาเหตุที่คืน