ระบบบริการวิชาการ
รายละเอียดโครงการ
1. ชื่อโครงการ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเสริมสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัล”
2. ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ
     2.1 ประเภทโครงการ
      โครงการทั่วไป
      โครงการพิเศษตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
     

2.2 ลักษณะโครงการ
    โครงการใหม่
    โครงการต่อเนื่อง ปีที่

3. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ / ภารกิจของหน่วยงาน
  ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพให้การบริการวิชาการและวิชาชีพ
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  4.1 ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ 
       หน่วยงาน :
4.2 หน่วยงานร่วม ภายใน ภายนอก

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

5. หลักการและเหตุผล
 

         นโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) เป็นนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย จำเป็นต้องมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจก่อน ซึ่งเป้าหมายหลักของการขับเคลื่อนดังกล่าวเป็นไปเพื่อเปลี่ยนรูปภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการดั้งเดิมของไทย สู่เศรษฐกิจที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบอินเทอร์เน็ตในการสร้างอาชีพ โดยอาศัยความร่วมมือ การปรับตัว การปรับทัศนคติของประชาชน การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมีระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีขนาดที่เพียงพอกับการใช้งาน มีเสถียรภาพมั่นคง และมีราคาที่เหมาะสม อันจะเป็นพื้นฐานการต่อยอดกิจกรรมการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด   นอกจากรัฐบาลจะกำหนดให้มีนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสู่ดิจิทัลแล้ว ยังมีการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศอย่างจริงจัง นั่นคือจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศที่เพียงพอ ยกระดับคุณภาพชีวิตของภาคประชาชนให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้ทุกกลุ่ม ทุกท้องถิ่น อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และในส่วนของภาคธุรกิจเอง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ทุกภาคส่วนก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน์ และสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต การตลาดและส่งเสริมการขายต่างๆ การขนส่ง การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรองรับการให้บริการของภาคธุรกิจต่างๆ ตลอดจนการใช้ระบบดิจิทัลรองรับการผลิตสินค้าในภาคอุตสาหกรรม ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ (Creative Economy)

          จากความสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล ในส่วนของภาคเอกชนและท้องถิ่น จึงจำเป็นที่จะต้องปรับตัวและผลักดันธุรกิจของตนสู่เศรษฐกิจดิจิทัลในระดับประเทศด้วย เพื่อให้เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างไม่หยุดยั้ง จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเบื้องต้น ชุมชนทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมพูดคุยกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง และผลการวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้องตี้ พบปัญหาในลักษณะคล้ายกัน คือ ชุมชนมีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่หลากหลาย แต่ยังขาดช่องทางการตลาดและช่องทางการขายในระบบออนไลน์ อาทิ ไม้ถูพื้นไฮเทค กระเทียมดำ น้ำพริกเผา น้ำตาลมะพร้าว เป็นต้น การบริการวิชาการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัล จะช่วยให้ชุมชนมีความรู้และเทคนิคการสื่อสารการตลาดออนไลน์ เป็นการนำผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนมีช่องทางการขายที่ง่ายขึ้นและมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งการบริการวิชาการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ที่มีส่วนผลักดันและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

6. วัตถุประสงค์
 

6.1           เพื่อให้ความรู้และเทคนิคการสื่อสารการตลาดออนไลน์

6.2          เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

7. พื้นที่ / ชุมชนเป้าหมาย
 

ชุมชนทุ่งทอง   ตำบลทุ่งทอง  อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

8. กลุ่มโครงการบริการวิชาการ
  กลุ่ม 3 กลุ่มโครงการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งและการส่งเสริมอาชีพ
9. ชุมชนเป้าหมายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
- กลุ่มผู้ประกอบการ/บุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการ คน
- กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา/องค์กรปกครองท้องถิ่น คน
- กลุ่มอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ คน
- กลุ่มชุมชนในพื้นที่ คน
- อื่นๆ (ระบุ) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน และผู้สนใจ 30 คน


ภายใมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่เกินร้อยละ 20)

- นักศึกษา คน
- อาจารย์ คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เชิงปริมาณ / เชิงคุณภาพ
 

10.1 ผลผลิต

10.1.1 ชุมชนได้รับความรู้และเทคนิคการสื่อสารการตลาดออนไลน์

10.1.2 ชุมชนความรู้เกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

10.2 ผลลัพธ์

     การที่ชุมชนมีช่องทางการจำหน่ายในตลาดออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น จะสามารถทำให้ชุมชนมีรายได้ที่สูงขึ้น สามารถนำมาจุนเจือครอบครัวและช่วยส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง อีกทั้งนำพาผลิตภัณฑ์ชุมชนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล

10.3 ผลกระทบ

     เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน และผลิตภัณฑ์ชุมชนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล

11. วิธีดำเนินการ
 

11.1 สถานที่ดำเนินการ

ชุมชนทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

 

11.2 แผนการดำเนิน

ขั้นตอนดำเนินการ
พ.ศ.2561
พ.ศ.2562
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
1.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ / /
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2.ประชาสัมพันธ์โครงการ
 
 
 
/ / / /
 
 
 
 
 
3.ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนและรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
 
 
 
 
/
 
 
 
 
 
 
 
4.ประชุม วางแผนการดำเนินงาน
 
 
 
 
 
/
/
 
 
 
 
 
5.ประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่น
 
 
 
 
 
/
/
 
 
 
 
 
6.เตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อดำเนินโครงการ
 
 
 
 
 
/
/
 
 
 
 
 
7.ดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน

     7.1  เทคนิคกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์

     7.2  เทคนิคการนำผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 
 
 
 
 
 
 
/
 
 
 
 
8.ประเมินโครงการ
 
 
 
 
 
 
 
 
/
 
 
 
9.รายงานสรุปผล
 
 
 
 
 
 
 
 
/
 
 
 
10.ติดตามผลการดำเนินงาน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
/
 
 
                         
12. งบประมาณ
 

“การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัล”

     กิจกรรมที่ 1 เทคนิคกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์

     กิจกรรมที่ 2  เทคนิคการนำผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

รายการ
จำนวนเงิน

1. ค่าตอบแทน

1.1 ค่าตอบแทนวิทยากรภายใน  3  ท่าน ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน  6  ชั่วโมง จำนวน 1 วัน

5,400

2. ค่าใช้สอย

2.1ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30ชุด ชุดละ 25บาท  เช้า-บ่าย จำนวน 1 วัน

2.2ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 วัน ชุดละ 80 บาท  จำนวน 30คน

2.3ค่าเช่าสถานที่

2.4 ค่าเอกสารฝึกอบรม จำนวน 30 ชุด ชุดละ 200 บาท จำนวน 2 กิจกรรม

2.5 ค่าของที่ระลึก 1 ชิ้น

2.6 ติดตามผลการดำเนินงาน

 
 
 
1,500
 
2,400
 
5,000
 
6,000
 
1,500
 
5,000
 

3. ค่าวัสดุ

3.1 วัสดุสำนักงาน (เช่น ดินสอ ยางลบ ปากกา กระดาษ กรรไกร  กระดาษฟลิปชาร์ท)    

3.2 วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น

3.3วัสดุโฆษณาและเผยแพร่

 
 
8,200
 
4,000
 
3,000
รวมงบประมาณ
42,000

 

13. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
 

มิติที่ 1 ความรู้ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

1.  ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเทคนิคกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์

2.  ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเทคนิคการนำผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


มิติที่ 2 ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย

          1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ

-  ไม่น้อยกว่าร้อยละ  90

          2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

-   ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

          3. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก

-   ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

          4. ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ

-  ไม่น้อยกว่าร้อยละ  90

มิติที่ 3 การนำความรู้ไปใช้ของกลุ่มเป้าหมาย

ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนพัฒนาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนในตลาดออนไลน์ และเข้าสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างน้อยร้อยละ 90


14. การรายงานผลโดยโครงการ/กิจกรรมโดยภาพรวม
 

-

  สถานะ การอนุมัติ วันที่ อนุมัติ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  สถานะ การดำเนินการ วันที่ดำเนินโครงการ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  แหล่งงบประมาณ กรณี อื่นๆ ระบุแหล่งเงิน
 
จำนวนเงินที่ขออนุมัติ 42000 บาท
ค่าใช้จ่าย บาท
คงเหลือ บาท
คืนมหาวิทยาลัย บาท
สาเหตุที่คืน