ระบบบริการวิชาการ
รายละเอียดโครงการ
1. ชื่อโครงการ การจัดการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
2. ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ
     2.1 ประเภทโครงการ
      โครงการทั่วไป
      โครงการพิเศษตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
     

2.2 ลักษณะโครงการ
    โครงการใหม่
    โครงการต่อเนื่อง ปีที่

3. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ / ภารกิจของหน่วยงาน
  ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพให้การบริการวิชาการและวิชาชีพ
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  4.1 ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ 
       หน่วยงาน :
4.2 หน่วยงานร่วม ภายใน ภายนอก
5. หลักการและเหตุผล
 

การท่องเที่ยว ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาล เนื่องจากมีความสำคัญต่อการสร้างรายได้ เพื่อพัฒนาประเทศ และมีการกระจายไปในหลายภาคส่วนของธุรกิจอย่างชัดเจน จากความสำคัญของ        การท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดรายได้ จึงมีการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ขยายมากขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว และมีการขยายตัวไปในแทบทุกภูมิภาค ก่อให้เกิดการตื่นตัวเพราะมองว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะมีรายได้เพิ่มจากการท่องเที่ยว นอกจากนี้การท่องเที่ยวยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าบ้านและนักท่องเที่ยวที่มาเยือน สร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน และเป็นประโยชน์โดยตรงต่อคนในชุมชน สำหรับการท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี พบว่า มีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว แต่มีการกระจายตัวออกไปในแต่ละพื้นที่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการการท่องเที่ยว ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ๆ ที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต จากการที่ทรัพยากรการท่องเที่ยวมีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวทางด้านธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ซึ่งผู้ดูแลคือประชาชนที่อยู่ในชุมชน ท้องถิ่นนั้นๆ ว่าจะมีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวได้อย่างไร เพราะทรัพยากร          ทุกอย่างต้องมีข้อจำกัดในการใช้ทั้งสิ้น เมื่อ "ชุมชน" กลายเป็น "สินค้า" หรือ "เครื่องมือ" ที่เป็นทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ดังนั้นการที่จะดำเนินการพัฒนาใดๆ จึงต้องให้ความสำคัญต่อชุมชนในอันดับแรก การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชนและชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของมีสิทธิในการจัดการ ดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน โดยให้ชุมชนเป็นเจ้าของและมีส่วนในการจัดการ แนวความคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Base Tourism : CBT) จึงเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการดำเนินโครงการในครั้งนี้

            จากการลงพื้นที่สำรวจชุมชน พบว่า ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากจังหวัดกาญจนบุรี 60 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอไทรโยค 20 กิโลเมตร ประกอบ ไปด้วย 11 หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน     มีจุดเด่นที่หลากหลาย เช่น หมู่ที่ 3 มีกลุ่มอาชีพสินค้าและผลิตภัณฑ์ หมู่ที่ 8มีวิสาหกิจชุมชน และมีแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ หมู่ที่ 7มีทางรถไฟสายมรณะอยู่ภายในวัดพุทธวิมุติ และหมู่ที่ 11 มีพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด นอกจากนี้ชุมชนท้องถิ่นยังมีความต้องการที่จะพัฒนาท้องถิ่นของตนเองในด้านการท่องเที่ยวเช่นกัน สาขาวิชาฯ ในฐานะเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรด้านอุตสาหกรรมบริการการท่องเที่ยว จึงเห็นถึงความสำคัญถึงควรร่วมมือกันในการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวความคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน Community-based Tourism (CBT) เพื่อทำให้คนในชุมชนได้รับความรู้ ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวที่ถูกต้อง และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน ซึ่งก็จะเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้การพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยวของตำบลท่าเสาอย่างบูรณาการแบบยั่งยืน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ในท้องถิ่นของตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยไม่เกิดผลกระทบต่อชุมชน นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านการท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่นต่อไป

6. วัตถุประสงค์
 

1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวความคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 2. เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวความคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

7. พื้นที่ / ชุมชนเป้าหมาย
 

ประชาชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี

8. กลุ่มโครงการบริการวิชาการ
  กลุ่ม 3 กลุ่มโครงการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งและการส่งเสริมอาชีพ
9. ชุมชนเป้าหมายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
- กลุ่มผู้ประกอบการ/บุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการ คน
- กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา/องค์กรปกครองท้องถิ่น คน
- กลุ่มอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ คน
- กลุ่มชุมชนในพื้นที่ คน
- อื่นๆ (ระบุ) ประชาชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน 35 คน


ภายใมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่เกินร้อยละ 20)

- นักศึกษา คน
- อาจารย์ 5 คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เชิงปริมาณ / เชิงคุณภาพ
 

10.1 ด้านผลผลิต (output)

              10.1.1ผลผลิตเชิงปริมาณ(จำนวนกิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคม ที่มีการติดตามความต้องการของชุมชน ภาครัฐ เอกชน หรือหน่วยงานวิชาชีพ)

                      จัดการอบรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค

จำนวน 1 ครั้ง

               10.1.2 ผลผลิตเชิงคุณภาพ(ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ)

                      ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความพึงพอใจในกระบวนการให้บริการวิชาการของสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการการท่องเที่ยว ร้อยละ 90

 

10.2 ด้านผลลัพธ์ (outcome)

               10.2.1 ผลลัพธ์เชิงปริมาณ (ร้อยละของผู้เข้ารับบริการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์)

                     ผู้เข้าร่วมการอบรม สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวความคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ไปใช้ประโยชน์ได้ ร้อยละ 80

                    ผู้เข้าร่วมการอบรม ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวความคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ร้อยละ 75

                10.2.2 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ(ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ)

                    ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความพึงพอใจในโครงการอบรมการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวความคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนร้อยละ 90

 

10.3 ด้านผลกระทบ (impact)

                10.3.1 ด้านสังคม: ประชาชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชน เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน

                10.3.2 ด้านสิ่งแวดล้อม :ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมของชุมชน เนื่องจากทรัพยากรทุกอย่างต้องมีข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

                 10.3.3 ด้านเศรษฐกิจ :ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน

11. วิธีดำเนินการ
 

11.1 สถานที่ดำเนินการ

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี   

 

11.2 แผนการดำเนิน

ขั้นตอนดำเนินการ
พ.ศ.2561
พ.ศ.2562
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
1.สำรวจศักยภาพ ความต้องการและความพร้อมในการอบรม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2.ประเมินข้อมูลเบื้องต้นของ     ผู้เข้ารับการอบรม จัดเตรียมเนื้อหาและเอกสารประกอบการอบรม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3.กำหนดวันการอบรม และประสานงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4.ดำเนินการอบรม รวบรวมข้อมูล แบบประเมินหลังการอบรม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.รายงานผลการอบรม ครั้งที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6.ติดตามผลการอบรม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
7.รายงานผลโครงการ ครั้งที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
8.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
9.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
10.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
12.                        
13.                        
14.                        
15.                        
12. งบประมาณ
 
รายการ
จำนวนเงิน

1. ค่าตอบแทน

ค่าตอบแทนวิทยากร  2 คน วันละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300บาท จำนวน 3 วัน  

 
 
10800

2. ค่าใช้สอย

2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

 

 

2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมและคณะทำงาน  จำนวน 40 คน3 วัน วันละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท

2.3 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรมและคณะทำงาน  จำนวน  40 คน 3วัน วันละ 1 มื้อๆ ละ 80 บาท

 

 

 
6,480
 
 
 
6,000
 
 
 
9,600
 
 
 
 

3. ค่าวัสดุ

3.1 วัสดุสำนักงานประกอบอบรม

3.2 ค่าเอกสารประกอบอบรม

 
 
8,530
 
 
2,000
รวมงบประมาณ
43410
13. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
 

มิติที่ 1 ความรู้ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

                    ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวความคิดการท่องเที่ยวโดย ร้อยละ 80

 

 มิติที่ 2 ด้านความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย  4 ประเด็น

                  1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ

                     ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความพึงพอใจในกระบวนการให้บริการวิชาการของสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการการท่องเที่ยว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

                 2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

                     ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความพึงพอใจในด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการของสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการการท่องเที่ยว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

                 3. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก

                    ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความพึงพอใจในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการของสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการการท่องเที่ยว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

                 4. ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ

                     ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการการท่องเที่ยว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

 

           มิติที่ 3 การนำความรู้ไปใช้ของกลุ่มเป้าหมาย

                    ผู้เข้าร่วมการอบรม สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวความคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน  ไปใช้ประโยชน์ได้ ร้อยละ 80

 

 


14. การรายงานผลโดยโครงการ/กิจกรรมโดยภาพรวม
 

-

  สถานะ การอนุมัติ วันที่ อนุมัติ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  สถานะ การดำเนินการ วันที่ดำเนินโครงการ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  แหล่งงบประมาณ กรณี อื่นๆ ระบุแหล่งเงิน
 
จำนวนเงินที่ขออนุมัติ 43410 บาท
ค่าใช้จ่าย บาท
คงเหลือ บาท
คืนมหาวิทยาลัย บาท
สาเหตุที่คืน