ระบบบริการวิชาการ
รายละเอียดโครงการ
1. ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคในห้องปฏิบัติการและการเตรียมปฏิบัติการ
2. ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ
     2.1 ประเภทโครงการ
      โครงการทั่วไป
      โครงการพิเศษตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
     

2.2 ลักษณะโครงการ
    โครงการใหม่
    โครงการต่อเนื่อง ปีที่

3. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ / ภารกิจของหน่วยงาน
  ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพให้การบริการวิชาการและวิชาชีพ
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  4.1 ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ 
       หน่วยงาน :
4.2 หน่วยงานร่วม ภายใน ภายนอก

ครูระดับชั้นประถมศึกษา ในจังหวัดกาญจนบุรี

5. หลักการและเหตุผล
 

ปัจจุบันนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีแนวโน้มที่จะเลือกศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ลดลง ทั้งนี้เนื่องจาก เจตคติที่เป็นลบต่อการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ และการจัดเรียนการสอนที่ขาดการมุ่งเน้นการปฏิบัติการเพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าใจในเนื้อหา และสนุกสนานกับการเรียนลดลง ดังนั้นเพื่อสร้างแรงจูงใจที่ดีต่อการเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ จึงควรเริ่มจาก การปลูกฝังความชอบ และการสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียน ตั้งแต่ในระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งจัดเป็นระดับแรกเริ่มที่มีการเรียนเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยบุคคลที่จัดว่ามีความสำคัญมากที่สุดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา คือ ครูผู้สอน ดังนั้นการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคในห้องปฏิบัติการและการเตรียมปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ รวมถึงทักษะและความชำนาญในการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ครูผู้สอน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อ ให้ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ไปถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบมุ่งเน้นการปฏิบัติการให้แก่นักเรียน เพื่อสร้างความสุข และความสนุกสนานในการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์จากการได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งจะก่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ได้

6. วัตถุประสงค์
 

6.1 ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาที่ผ่านการอบรม มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

6.2 ครูผู้สอนที่ผ่านการอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักเรียนเกิดความสุข สนุกสนาน และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนด้านวิทยาศาสตร์จากการได้ลงมือปฏิบัติจริงมากยิ่งขึ้น

7. พื้นที่ / ชุมชนเป้าหมาย
 

พื้นที่/ชุมชนเป้าหมาย : ครูระดับชั้นประถมศึกษา ในจังหวัดกาญจนบุรี

สถานที่ที่ดำเนินโครงการ : สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

8. กลุ่มโครงการบริการวิชาการ
  กลุ่ม 2 กลุ่มโครงการพัฒนาครู
9. ชุมชนเป้าหมายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
- กลุ่มผู้ประกอบการ/บุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการ คน
- กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา/องค์กรปกครองท้องถิ่น 35 คน
- กลุ่มอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ คน
- กลุ่มชุมชนในพื้นที่ คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน


ภายใมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่เกินร้อยละ 20)

- นักศึกษา คน
- อาจารย์ คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เชิงปริมาณ / เชิงคุณภาพ
 

10.1 ผลผลิต

                   ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 35 คน

 

 10.2 ผลลัพธ

                   ครูที่ผ่านการอบรม สามารถนำความรู้เกี่ยวกับเทคนิคในห้องปฏิบัติการและการเตรียมปฏิบัติการ ไปถ่ายถอดและประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนแบบมุ่งเน้นปฏิบัติการให้กับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาได้

 

10.3 ผลกระทบ

                   นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาได้เรียนรู้เนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์จากการลงมือปฏิบัติมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความสนุก และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนด้านวิทยาศาสตร์

11. วิธีดำเนินการ
 

11.1 สถานที่ดำเนินการ

อาคารศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

 

11.2 แผนการดำเนิน

ขั้นตอนดำเนินการ
พ.ศ.25
พ.ศ.25
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
1. วางแผนการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคในห้องปฏิบัติการและการเตรียมปฏิบัติการ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. ประชาสัมพันธ์โครงการไปยังโรงเรียนต่างๆ ที่มีการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษา ในจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมรวบรวมเอกสารตอบรับผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับอบรม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องแก้ว สารเคมี และเอกสารที่จะใช้ในการอบรม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4. ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคในห้องปฏิบัติการและการเตรียมปฏิบัติการ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. ประเมินผลการจัดโครงการ
 
 
 
 
 
 
 
 
6. รายงานผลการดำเนินโครงการ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


 

12. งบประมาณ
 

 

รายการ

จำนวนเงิน

1. ค่าตอบแทน

- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆ ละ 300 บาท/ชั่วโมง จำนวน 6 ชั่วโมง/วัน จำนวน 2 วัน

เป็นเงิน 2x300x6x2 = 7200 บาท

7,200 บาท

 

 

2. ค่าใช้สอย

- ค่าเช่าเหมารถ 3,500 บาท

- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆ ละ 80 บาท/วัน จำนวน 2วัน

  เป็นเงิน 40x80x2 = 6,400 บาท

- ค่าอาหารว่าง จำนวน 40 คนๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ/วัน

  จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 40x25x2x2 = 4,000 บาท

13,900 บาท

3. ค่าวัสดุ

- ค่าสารเคมี และวัสดุทางวิทยาศาสตร์ 40,000 บาท

- ค่าถ่ายเอกสาร 2,450 บาท

- ค่าวัสดุสำนักงาน5,000 บาท

47,450 บาท

รวมงบประมาณ

68,550 บาท

13. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
 

มิติที่ 1 ความรู้ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

                   ผู้เข้าอบรมร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคในห้องปฏิบัติการและการเตรียมปฏิบัติการมากยิ่งขึ้น

 

มิติที่ 2 ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย

                   ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในกิจกรรมที่จัดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

         

มิติที่ 3 การนำความรู้ไปใช้ของกลุ่มเป้าหมาย

                   ผู้เข้าอบรมร้อยละ 80 สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบมุ่งเน้นปฏิบัติการให้แก่นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาได้


14. การรายงานผลโดยโครงการ/กิจกรรมโดยภาพรวม
 

ทำรายงานผลการดำเนินโครงการส่ง หลังจากที่ดำเนินโครงการและติดตามผลการประเมินจากการดำเนินโครงการเสร็จสิ้น ภายในเวลา 6 เดือน

  สถานะ การอนุมัติ วันที่ อนุมัติ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  สถานะ การดำเนินการ วันที่ดำเนินโครงการ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  แหล่งงบประมาณ กรณี อื่นๆ ระบุแหล่งเงิน
 
จำนวนเงินที่ขออนุมัติ 68550 บาท
ค่าใช้จ่าย บาท
คงเหลือ บาท
คืนมหาวิทยาลัย บาท
สาเหตุที่คืน