ระบบบริการวิชาการ
รายละเอียดโครงการ
1. ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นเมืองด้วยเทคนิคการตัดเย็บแบบ 3 มิติ
2. ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ
     2.1 ประเภทโครงการ
      โครงการทั่วไป
      โครงการพิเศษตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
     

2.2 ลักษณะโครงการ
    โครงการใหม่
    โครงการต่อเนื่อง ปีที่

3. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ / ภารกิจของหน่วยงาน
  ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพให้การบริการวิชาการและวิชาชีพ
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  4.1 ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ 
       หน่วยงาน :
4.2 หน่วยงานร่วม ภายใน ภายนอก
5. หลักการและเหตุผล
 

สินค้าจากภูมิปัญญาเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคเชิงอนุลักษณ์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาครัฐมีการสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นการนำประชากรนักท่องเที่ยวเข้าสู่พื้นที่ของชุมชนและเข้าถึงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สินค้าจากภูมิปัญญาไทยที่เป็นที่ยอมรับและนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวเนื่องจากมีความงดงาม สามารถสื่อสารศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน และมีน้ำหนักเบาคือ ผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมือง แต่แรกเริ่ม ผ้าทอพื้นเมืองของไทยจะผลิตเพื่อใช้เองในครัวเรือนและชุมชน ในชีวิตประจำวันและเพื่อใช้ในพิธีการต่างๆ ในลักษณะผ้าผืนที่เป็นผ้านุ่ง ผ้าเอนกประสงค์ ผ้าสไบ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ซึ่งเป็นชิ้นงานสำเร็จจาก  กี่ทอผ้า แต่ปัจจุบันมีการนำผืนผ้าที่ทอได้มาตัดเย็บเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผู้บริโภค 

           แม้ว่าในอดีตงานทอผ้าจะเป็นงานเสริมอาชีพหลัก แต่ด้วยช่องทางการตลาดที่มีผู้ซื้อเข้าถึงพื้นที่ และรัฐมีการสนับสนุนช่องทางจัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น งานทอผ้าและผลิตภัณฑ์จึงทำรายได้ให้ครอบครัวและชุมชนค่อนข้างมาก มีการพัฒนารวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้จำนวนมากขึ้น ดังนั้นความต้องการในการรับความรู้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้สินค้ามีความแปลกแตกต่างและมีช่องทางการขายที่มากขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น
 

           การตัดเย็บด้วยเทคนิค 3 มิติ เป็นเทคนิคที่เกิดขึ้นและแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น เป็นการพัฒนารูปแบบการตกแต่งผลิตภัณฑ์ โดยการตกแต่งเพิ่มเติมผืนผ้าบนชิ้นงานผลิตภัณฑ์ ในลักษณะ 3 มิติ คือ มีความลึกเพิ่มขึ้นจากลักษณะของการตกแต่งที่เคยมีมา การตัดเย็บด้วยเทคนิค 3 มิติ ยังถือเป็นเทคนิคใหม่สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองไทยในระดับชุมชน ที่จะสามารถสร้างทางเลือกให้กับกลุ่มผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น

 

โครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นเมืองด้วยเทคนิคการตัดเย็บแบบ 3มิติ จัดขึ้นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จะช่วยเพิ่มทักษะการสร้างแนวความคิด เพิ่มทักษะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น และผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองระดับชุมชน จะนำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นระดับครัวเรือนและชุมชน สร้างความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนให้กับพื้นที่ต่อไป

6. วัตถุประสงค์
 

6.1  เพื่อถ่ายทอดความรู้พื้นฐาน การฝึกปฏิบัติ และการพัฒนาชิ้นงานผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นเมือง เรื่องการตัดเย็บด้วยเทคนิค 3 มิติ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับแม่บ้านเกษตรกรผู้ผลิตผ้าทอพื้นเมือง ในจังหวัดกาญจนบุรี
6.2  เพื่อประชาสัมพันธ์และขยายศักยภาพด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ของสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

7. พื้นที่ / ชุมชนเป้าหมาย
 

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี

                กลุ่มเป้าหมายผู้รับกา

8. กลุ่มโครงการบริการวิชาการ
  กลุ่ม 3 กลุ่มโครงการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งและการส่งเสริมอาชีพ
9. ชุมชนเป้าหมายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
- กลุ่มผู้ประกอบการ/บุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการ 5 คน
- กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา/องค์กรปกครองท้องถิ่น 5 คน
- กลุ่มอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ 10 คน
- กลุ่มชุมชนในพื้นที่ 10 คน
- อื่นๆ (ระบุ) - คน


ภายใมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่เกินร้อยละ 20)

- นักศึกษา 5 คน
- อาจารย์ 5 คน
- อื่นๆ (ระบุ) - คน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เชิงปริมาณ / เชิงคุณภาพ
 

13.1 ผลผลิต

          ประโยชน์       
               1.  เพื่อบูรณาการความรู้ด้านคหกรรมศาสตร์ให้กับผู้ผลิตผ้าทอพื้นเมืองในระดับชุมชน
               2.  เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัติการบริการวิชาการในศาสตร์สาขาที่ศึกษากับชุมชน
               3.  เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนกับสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

          ความคุ้มค่าที่คาดว่าจะได้รับ
               แม่บ้านเกษตรกร ผู้ผลิตและแปรรูปผ้าทอพื้นเมืองระดับชุมชนในเขตจังหวัดกาญจนบุรี สามารถนำความรู้ไปต่อยอดพัฒนาชิ้นงานผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นเมืองด้วยเทคนิคการตัดเย็บ 3 มิติ เพื่อเป็นสินค้าใหม่ให้กับกลุ่มหรือพื้นที่ เพื่อเพิ่มรูปแบบสินค้าให้ผู้ซื้อ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสของการสร้างรายได้

13.2 ผลลัพธ์
          แม่บ้านเกษตรกร ผู้ผลิตและแปรรูปผ้าทอพื้นเมืองระดับชุมชนในเขตจังหวัดกาญจนบุรี มีความรู้และสามารถใช้การตัดเย็บด้วยเทคนิค 3 มิติ พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ 1 ชิ้นงาน เช่น กระเป๋าผ้า หรือ ภาพประดับผนัง หรือผ้ารองจานรองแก้ว หรือกล่องเอนกประสงค์ เป็นต้น์ผ้าทอพื้นเมืองระดับชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ครู อาจารย์ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)และผู้สนใจในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 40 คน รับผิดชอบโดยหัวหน้ากลุ่ม (ผู้ประสานงาน) จังหวัดกาญจนบุรี
           โดยมีขอบเขตของการดำเนินโครงการดังนี้
           เป็นโครงการที่มุ่งอบรมถ่ายทอดความรู้ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติเพื่อให้สามารถเข้าใจและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง  การถ่ายทอดความรู้พื้นฐาน  และการฝึกปฏิบัติ เรื่องการตัดเย็บด้วยเทคนิค 3 มิติ  รับผิดชอบโดยสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

13.3 ผลกระทบ

ความเสี่ยงที่มีผลทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

-  จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการน้อยกว่าจำนวนที่กำหนดไว้

-  กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการไม่ครบตามจำนวนเวลาที่กำหนด

           แนวทางป้องกัน

                   -  ประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

                   -  จัดอบรมในช่วงเวลาที่เกษตรกรว่างจากการทำอาชีพหลัก

11. วิธีดำเนินการ
 

11.1 สถานที่ดำเนินการ

o   ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง 31 กันยายน พ.ศ. 2562

o   สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

o   กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี

11.2 แผนการดำเนิน

ขั้นตอนดำเนินการ
พ.ศ.25
พ.ศ.25
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
1.การสำรวจพื้นที่ โดยการติดต่อประสานกับผู้นำของกลุ่มในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนากรชุมชน เพื่อสำรวจพื้นฐานการผลิต ความต้องการของพื้นที่ ประสานความร่วมมือในการกำหนดวัน จัดการด้านสถานที่ และประชาสัมพันธ์การเข้าอบรมถ่ายทอดความรู้
------
------
------
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2.การจัดทำคู่มือการฝึกอบรม เพื่อมอบให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมใช้ในการฝึกอบรม
 
 
------
------
------
------
------
------
 
 
 
 
3.การจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ ที่จำเป็นในการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้
 
 
 
 
 
------
------
------
 
 
 
 
4.การฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ของโครงการและการประเมินความพึงพอใจที่ได้รับในการฝึกอบรมและสอบถามความต้องการต่อยอดความรู้
 
 
------
------
-----
------
------
------
------
 
 
 
5.การติดตามผลการอบรมถ่ายทอดความรู้(2 เดือนหลังจากอบรม)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
------
------
 
6.การจัดทำเล่มรายงานผลการดำเนินการ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
------
------
------
7.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
8.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
9.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
10.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
12.                        
13.                        
14.                        
15.                        
12. งบประมาณ
 
รายการ
จำนวนเงิน

1. ค่าตอบแทน 

1.1  ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 300บาท (2วัน X 6 ชม. X 300 บาท x 4 คน)

14,400

2. ค่าใช้สอย

2.1  ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง (240บาท/คน x5 คน x 2วัน)

2.2  ค่าจ้างเหมาเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ทำงานล่วงเวลา

2.3 ค่าเช่าพาหนะเดินทาง (3,000บาท/วัน x 3วัน) อบรม 2 วัน ติดตามผล 1 วัน

2.4 ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารการอบรม 

2.5 ค่าอาหาร (1มื้อ x 2วัน x60 บาท x 50คน)

2.6 ค่าอาหารว่าง (2มื้อ x 2วัน x 25บาท x 50คน)

2.7ค่าเช่าสถานที่ฝึกอบรม (1,500 บาท x 2วัน)

2.8 ค่าใช้สอยอื่น ๆ

 
 
 
 
2,400
 
2,500
 
9,000
 
10,000
 
6,000
 
5,000
 
3,000
 
2,700
 
 

3. ค่าวัสดุ

3.1  วัสดุฝึกอบรม

            (ผ้าทอพื้นเมือง ผ้าซับใน ผ้ากาว ผ้าแข็ง ใยโพลีเอสเตอร์ แผ่นใยโพลี

            เอสเตอร์ อุปกรณ์ตัดเย็บฯลฯ)

3.2  วัสดุสำนักงาน

 
 
 
40,000
 
 
 
 
10,000
รวมงบประมาณ
105,000
13. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
 

มิติที่ 1 ความรู้ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

            พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ 1ชิ้นงาน เช่น กระเป๋าผ้า หรือภาพประดับผนัง หรือชุดผ้ารองจานรองแก้ว หรือกล่องอเนกประสงค์ที่ทำการตัดเย็บด้วยเทคนิคการตัดเย็บแบบ 3มิติ

มิติที่ 2 ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย

             ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมในด้านต่างๆ ไม่น้อยกว่าระดับดี โดยกำหนดระดับความคิดเห็น 5ระดับ และแบบสอบถามความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาที่ฝึกอบรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

มิติที่ 3 การนำความรู้ไปใช้ของกลุ่มเป้าหมาย

การติดตามและประเมินผลโครงการจากการสอบถามความพึงพอใจต่อการรับบริการ(ภายหลังการอบรม 2 เดือน) ถ่ายภาพการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตผลิตภัณฑ์จากผ้าโดยเทคนิคการตัดเย็บแบบ 3มิติ

 

 

 

 

 

 


14. การรายงานผลโดยโครงการ/กิจกรรมโดยภาพรวม
 

ถ่ายภาพการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตผลิตภัณฑ์จากผ้าโดยเทคนิคการตัดเย็บแบบ 3มิติ จัดทำเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์หลังเสร็จสิ้นโครงการฯ

  สถานะ การอนุมัติ วันที่ อนุมัติ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  สถานะ การดำเนินการ วันที่ดำเนินโครงการ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  แหล่งงบประมาณ กรณี อื่นๆ ระบุแหล่งเงิน
 
จำนวนเงินที่ขออนุมัติ 105000 บาท
ค่าใช้จ่าย บาท
คงเหลือ บาท
คืนมหาวิทยาลัย บาท
สาเหตุที่คืน