ระบบบริการวิชาการ
รายละเอียดโครงการ
1. ชื่อโครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ
     2.1 ประเภทโครงการ
      โครงการทั่วไป
      โครงการพิเศษตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
     

2.2 ลักษณะโครงการ
    โครงการใหม่
    โครงการต่อเนื่อง ปีที่

3. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ / ภารกิจของหน่วยงาน
  ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพให้การบริการวิชาการและวิชาชีพ
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  4.1 ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ 
       หน่วยงาน :
4.2 หน่วยงานร่วม ภายใน ภายนอก
5. หลักการและเหตุผล
 
6. วัตถุประสงค์
 

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่เป็นทั้งแนวคิด หลักการ และแนวทางปฏิบัติตนของแต่ละบุคคล และองค์กร โดยคำนึงถึงความพอประมาณกับศักยภาพของตนเอง และสภาวะแวดล้อม ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง โดยใช้ความรู้อย่างถูกหลักวิชาการด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เบียดเบียนกัน แบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และร่วมมือปรองดองกันในสังคม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสายใยเชื่อมโยงคนในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเข้าด้วยกัน  สร้างสรรค์พลังในทางบวก นำไปสู่ความสามัคคี การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ได้ การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนและมั่นคงในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้ชุมชนต่างๆ มีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจที่วางอยู่บนฐานรากเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และระบบนิเวศน์ชุมชน บนฐานทุน4 ประการ คือ ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม ทุนทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และทุนทางกายภาพ โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก ลดการพึ่งพาภายนอก การสร้างภูมิคุ้มกันและการเรียนรู้ เพื่อให้มีอำนาจต่อรองกับอำนาจภายนอกเพิ่มขึ้น พยายามทำให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและไม่กินทุนทั้ง 4 ประการ อย่างไรก็ตามระบบเศรษฐกิจที่ทาให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นในทางเศรษฐกิจย่อมสัมพันธ์กับความสามารถทางการผลิตของท้องถิ่นที่ดำรงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นได้อย่างมีศักดิ์ศรี และสร้างความได้เปรียบหรือจุดขายให้กับผลผลิตของท้องถิ่น โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มให้เป็นเครือข่ายองค์การชุมชนเข้มแข็ง เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและเพิ่มรายได้ ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างครบวงจร  

       สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินกิจกรรมเพื่อตอบสนอง                พันธกิจของมหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการสู่ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งสาขาวิชาการพัฒนาชุมชนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน ตลอดจนพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำให้แก่ผู้นำท้องถิ่นและเกษตรกรในชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ตำบลหนองปลาไหล อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้งการอบรมให้ความรู้ การถอดบทเรียน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แก่คนในชุมชนและองค์กรชุมชน โดยผลของการบริการวิชาการในพื้นที่ตำบลหนองปลาไหล อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี  เกษตรกรและผู้นำชุมชนได้ประยุกต์แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน และหลักการโครงการ เข้าสู่กระบวนการพัฒนาชุมชนเกิดผลที่เป็นรูปธรรม อาทิ โครงการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตอ้อยและมันด้วยเกษตรอินทรีย์ โครงการหมูหลุม โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และกำจัดศัตรูพืชด้วยสมุนไพร เป็นต้น

       ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 จากการศึกษาแผนชุมชนระดับตำบล ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ชุมชนมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ คือ รายได้ไม่เพียงพอ ต้นทุนการผลิตสูง ซึ่งมีแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ ส่งเสริมอาชีพเพิ่มรายได้ และใช้ปุ๋ยหมักที่ทำขึ้นเองเพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชน เพื่อให้การบริการวิชาการแก่ชุมชนด้านเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน และหลักการโครงการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการขยายเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายและเกิดถ่ายทอดองค์ความรู้ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนจึงขอเสนอโครงการบริการวิชาการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภายใต้กิจกรรมการบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น”ในพื้นที่ตำบลวังกระแจะ ตำบลไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ทั้งนี้ เพื่อสนองต่อพระราชดำริ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบนพื้นฐาน ภูมิสังคม นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต และเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์อันจะนำมาสู่การพัฒนาหลักสูตร การบูรณาการเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย พัฒนาตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ และเป็นการสร้างเครือข่ายกับชุมชนและหน่วยงานในชุมชน

7. พื้นที่ / ชุมชนเป้าหมาย
 

 ชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี   

8. กลุ่มโครงการบริการวิชาการ
  กลุ่ม 1 กลุ่มโครงการพระราชดำริ
9. ชุมชนเป้าหมายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
- กลุ่มผู้ประกอบการ/บุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการ คน
- กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา/องค์กรปกครองท้องถิ่น คน
- กลุ่มอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ 36 คน
- กลุ่มชุมชนในพื้นที่ คน
- อื่นๆ (ระบุ) คน


ภายใมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ไม่เกินร้อยละ 20)

- นักศึกษา 4 คน
- อาจารย์ 4 คน
- อื่นๆ (ระบุ) บุคลากร 1 คน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เชิงปริมาณ / เชิงคุณภาพ
 

13.1 ผลผลิต

ผลผลิตเชิงปริมาณ         สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน จัดกิจกรรมบริการวิชาการ จำนวน 1

   ครั้ง ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

        ผลผลิตเชิงคุณภาพ        ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 90 มีความพึงพอใจในขั้นตอนและ

   กระบวนการให้บริการในระดับดี

13.2 ผลลัพธ์

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ (ร้อยละของผู้รับบริการนำไปใช้ประโยชน์)

          ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 90 สามารถนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานฯ ไปประยุกต์ใช้เป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในระดับครัวเรือน

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ (ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ)

          ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 90 มีความพึงพอต่อโครงการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานฯ ในระดับมาก

13.3 ผลกระทบ

ผลกระทบเชิงปริมาณ(ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่จะนำไปใช้ประโยชน์)

-          ตัวแทนเกษตรกรจากชุมชนในพื้นที่เป้าหมายร้อยละ 90 ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำ

     หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานฯ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ      

     ส่งผลต่อการลดรายจ่ายของครอบครัว

-          ตัวแทนเกษตรกรจากชุมชนต้นแบบที่มีแบบแผนการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของ

     เศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานฯ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปมีการขยายผลสู่ชุมชนอื่นอย่างน้อย 1 ชุมชน

ผลกระทบเชิงคุณภาพ

-   ตัวแทนเกษตรกรจากชุมชนในพื้นที่เป้าหมายร้อยละ 90 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่จัด

     ขึ้นตามโครงการฯ ในระดับมาก

         - สามารถบูรณาการประสบการณ์ที่ได้ จากการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนในพื้นที่

     เป้าหมายกับการเรียนการสอนและการวิจัย

                 - ชุมชนมีแนวทางการพัฒนาสอดคล้องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและบริบทท้องถิ่น

11. วิธีดำเนินการ
 

11.1 สถานที่ดำเนินการ

เขตพื้นที่ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี   

 

11.2 แผนการดำเนิน

ขั้นตอนดำเนินการ
พ.ศ.2561
พ.ศ.2562
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
1.วางแผนการจัดกิจกรรมโครงการ
 
 
/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2.เสนอโครงการ
 
 
 
/
 
 
 
 
 
 
 
 
3.ติดต่อประสานงานกับกับหน่วยงาน หรือบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมโครงการ
 
 
 
/
 
 
 
 
 
 
 
 
4.ประชาสัมพันธ์โครงการ
 
 
 
 
/
 
 
 
 
 
 
 
5.ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการ
 
 
 
 
 
/
 
 
 
 
 
 
6.บันทึกจัดเก็บผลประเมิน วิเคราะห์ผล และสรุปผลการประเมิน
 
 
 
 
 
 
/
 
 
 
 
 
7.สรุปผลของการดำเนินงานและวิเคราะห์ปัญหา เสนอแนะแนวทางแก้ไข
 
 
 
 
 
 
 
/
 
 
 
 
8.ประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมโครงการ เพื่อนำมาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมโครงการ ครั้งต่อไป
 
 
 
 
 
 
 
 
/
 
 
 
9.จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
/
 
 
10.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
12.                        
13.                        
14.                        
15.                        

12. งบประมาณ
 
รายการ
จำนวนเงิน
1. ค่าตอบแทน
10,200
2. ค่าใช้สอย
5,850
3. ค่าวัสดุ
13,950
รวมงบประมาณ
30,000
13. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
 

มิติที่ 1 ความรู้ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

ตัวแทนตัวแทนเกษตรกรจากชุมชนในพื้นที่เป้าหมายเข้าร่วมโครงการร้อยละ 90 สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปใช้ครัวเรือน สามารถนำมาซึ่งการลดค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนได้       

มิติที่ 2 ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย

            1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ

                        ระดับมาก                                                                          

             2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

                        ระดับมาก                                                                          

             3. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก

                        ระดับมาก                                                                          

             4. ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ

                              ระดับมาก        

มิติที่ 3 การนำความรู้ไปใช้ของกลุ่มเป้าหมาย
    ตัวแทนเกษตรกรจากชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เกิดการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการพัฒนาอาชีพหลักอย่างยั่งยืน 

14. การรายงานผลโดยโครงการ/กิจกรรมโดยภาพรวม
 

  

ติดตามผลการจัดกิจกรรมโครงการหลังเสร็จสิ้นโครงการ 1 เดือน โดยใช้แบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์

  สถานะ การอนุมัติ วันที่ อนุมัติ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  สถานะ การดำเนินการ วันที่ดำเนินโครงการ * รูปแบบ วว/ดด/ปปปป เช่น 08/09/2558
          หมายเหตุ
  แหล่งงบประมาณ กรณี อื่นๆ ระบุแหล่งเงิน
 
จำนวนเงินที่ขออนุมัติ 30000 บาท
ค่าใช้จ่าย บาท
คงเหลือ บาท
คืนมหาวิทยาลัย บาท
สาเหตุที่คืน